สรุปการประชุมสัมมนาร่าง
พรบ.การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ
.....
ในวันที่ 9 มกราคม 2550 เวลา 09.00-16.00
ณ ห้องวีนัส ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
การประชุมสัมมนาร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในมนุษย์
พ.ศ.... วันที่ 9 ม.ค.2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น เวลา 0900
น. โดยมี นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน นพ.ปกรณ์ ศิริยง
กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน กระทรวงสาธารณสุข
นำเสนอความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งได้เริ่มต้นมีแนวความคิดโดยกระทรวงสาธารณสุข
และจัดทำการเสนอร่าง พรบ. ลักษณะนี้ตั้งแต่ปี 2528 และมีการนำเสนอผ่านสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปยังสภาผู้แทนราษฎร
แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมายเนื่องจากมีการยุบสภาเสียก่อนก่อน ต่อมาในปี
2548 มีการดำเนินการร่าง พรบ.ขึ้นอีกครั้ง โดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
และมีการส่งร่าง พรบ. เพื่อขอความคิดเห็นจากสถาบันต่างๆ มาแล้วครั้งหนึ่ง
ในครั้งนี้เป็นการจัดประชุมสัมมนารับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้
มีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเป็นตัวแทนจากสถาบันต่างๆ เช่น คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยสถาบันต่างๆ
กลุ่มผู้แทน NGO ผู้แทนจากแพทยสภา ผู้แทนด้านกฎหมาย โดยมีวิทยากรผู้จัดทำร่าง
พรบ. ฉบับนี้คือ นายนันทน ชินทนนท์ จากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
ได้กล่าวถึงสาระสำคัญในการสัมมนาหลักๆ ในครั้งนี้ คือปัญหาทางกฎหมายที่มีต่อการวิจัยในมนุษย์
เช่น
- ไม่มีหลักพื้นฐานที่ชัดเจนเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของผู้รับการวิจัย
- ไม่มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้
- รัฐขาดกระบวนการตรวจสอบในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกวิจัย
- กระบวนการในการพิจารณาอนุญาต
มีความแตกต่างกัน
- มาตรฐานของคณะกรรมการจริยธรรมแตกต่างกัน
- การนำมาตรการทางอาญามาใช้ขาดความเหมาะสม
พร้อมกันนั้นได้บอกถึงวัตถุประสงค์ของร่าง พรบ. นี้คือ
- เพื่อกำหนดสิทธิของผู้จะรับการวิจัยและผู้รับการวิจัยในชัดแจ้งขึ้น
- เพื่อให้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้รับการวิจัยอย่างเพียงพอ
- รองรับสถานะทางกฎหมายของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
- กำหนดขั้นตอนในการขออนุญาตทำการวิจัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
- สร้างหลักประกันให้แก่ผู้รับการวิจัยเมื่อได้รับความเสียหาย
- กำหนดให้มีองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน
หลังจากได้กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของร่าง พรบ. ฉบับนี้แล้วได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ได้อภิปราย และเสนอความเห็นอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ ได้แก่
คำนิยามของ การวิจัยในมนุษย์ องค์ประกอบของคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ที่มาและการใช้งบประมาณของคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ การขึ้นทะเบียนของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันต่างๆ
กับคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ และบางประเด็นที่ยังไม่ได้กล่าวถึงสิทธิของอาสาสมัครการวิจัยในร่าง
พรบ. นี้ และมีตัวแทนอาสาสมัครการวิจัยในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์
ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นของการดูแลความถูกต้องของการร่วมโครงการวิจัย
ผู้จัดการสัมมนาได้สรุปว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขร่าง พรบ. ฉบับนี้ต่อไปโดยการนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมแก้ไขในร่าง
พรบ นี้และขั้นตอนต่อไปจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำเสนอเป็น
พรบ. ต่อไป
จบการประชุม เวลา 1600 น.
....................................................................บรรณาธิการ. |