ติดต่อได้ที่ พญ.สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา
คณะแพทยศาสตร์วริชพยาบาล
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ตึกโอสถกรรม ชั้น 2
681 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล
เขตดุสิต กทม. 10300
  sumonmalm@yahoo.com
 

เอกสารแปลของสถาบันพัฒนา
พัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์
กฎนูเรมเบิร์ก (142 K)
ปฏิญญาเฮลซิงกิ (306 K)
รายงานเบลมองต์ (282 K)
แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับ
  การวิจัยในมนุษย์ (604 K)
จริยธรรมในการวิจัยการดูแลสุขภาพ
  ในประเทศกำลังพัฒนา (1,532 K)
 


 
    HOME
   สารชมรม
   วัตถุประสงค์
   ข้อบังคับ
   รายนามคณะกรรมการ
   รายนามสมาชิกชมรม
   สิ่งตีพิมพ์
   เรื่องน่ารู้
   LINKs
 
ข่าว

group_photo

ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับการรับรองคุณภาพระดับนานาชาติแก่ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก SICDER-WHO ซึ่งได้มาเยี่ยมสำรวจเมื่อวันที่ 9-12 ตุลาคม 2549 และรับโล่ห์รางวัลการรับรองคุณภาพนี้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 ในการประชุม 6th FERCAP International Conference and FERCAP General Assembly  ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดอยุธยา 

Awarding of Recognition to Institutional Review Board, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University that successfully completed the SIDCER-WHO Recognition Process during 9th -12th  October 2006 and received the Plague of Recognition on 28th November 2006 at  the 6th FERCAP International Conference and FERCAP General Assembly  at  Krungsri River Hotel, Ayutthaya, Thailand

สรุปการประชุมสัมมนาร่าง พรบ.การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ….....
ในวันที่ 9 มกราคม 2550 เวลา 09.00-16.00
ณ ห้องวีนัส ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

การประชุมสัมมนาร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ.... วันที่ 9 ม.ค.2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น เวลา 0900 น. โดยมี นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน นพ.ปกรณ์ ศิริยง กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งได้เริ่มต้นมีแนวความคิดโดยกระทรวงสาธารณสุข และจัดทำการเสนอร่าง พรบ. ลักษณะนี้ตั้งแต่ปี 2528 และมีการนำเสนอผ่านสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปยังสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมายเนื่องจากมีการยุบสภาเสียก่อนก่อน ต่อมาในปี 2548 มีการดำเนินการร่าง พรบ.ขึ้นอีกครั้ง โดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมีการส่งร่าง พรบ. เพื่อขอความคิดเห็นจากสถาบันต่างๆ มาแล้วครั้งหนึ่ง
ในครั้งนี้เป็นการจัดประชุมสัมมนารับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเป็นตัวแทนจากสถาบันต่างๆ เช่น คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยสถาบันต่างๆ กลุ่มผู้แทน NGO ผู้แทนจากแพทยสภา ผู้แทนด้านกฎหมาย โดยมีวิทยากรผู้จัดทำร่าง พรบ. ฉบับนี้คือ นายนันทน ชินทนนท์ จากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้กล่าวถึงสาระสำคัญในการสัมมนาหลักๆ ในครั้งนี้ คือปัญหาทางกฎหมายที่มีต่อการวิจัยในมนุษย์ เช่น

    1. ไม่มีหลักพื้นฐานที่ชัดเจนเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของผู้รับการวิจัย
    2. ไม่มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้
    3. รัฐขาดกระบวนการตรวจสอบในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกวิจัย
    4. กระบวนการในการพิจารณาอนุญาต มีความแตกต่างกัน
    5. มาตรฐานของคณะกรรมการจริยธรรมแตกต่างกัน
    6. การนำมาตรการทางอาญามาใช้ขาดความเหมาะสม


พร้อมกันนั้นได้บอกถึงวัตถุประสงค์ของร่าง พรบ. นี้คือ

    1. เพื่อกำหนดสิทธิของผู้จะรับการวิจัยและผู้รับการวิจัยในชัดแจ้งขึ้น
    2. เพื่อให้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้รับการวิจัยอย่างเพียงพอ
    3. รองรับสถานะทางกฎหมายของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
    4. กำหนดขั้นตอนในการขออนุญาตทำการวิจัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
    5. สร้างหลักประกันให้แก่ผู้รับการวิจัยเมื่อได้รับความเสียหาย
    6. กำหนดให้มีองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน


หลังจากได้กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของร่าง พรบ. ฉบับนี้แล้วได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อภิปราย และเสนอความเห็นอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ ได้แก่ คำนิยามของ การวิจัยในมนุษย์ องค์ประกอบของคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ที่มาและการใช้งบประมาณของคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ การขึ้นทะเบียนของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันต่างๆ กับคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ และบางประเด็นที่ยังไม่ได้กล่าวถึงสิทธิของอาสาสมัครการวิจัยในร่าง พรบ. นี้ และมีตัวแทนอาสาสมัครการวิจัยในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นของการดูแลความถูกต้องของการร่วมโครงการวิจัย
ผู้จัดการสัมมนาได้สรุปว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขร่าง พรบ. ฉบับนี้ต่อไปโดยการนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมแก้ไขในร่าง พรบ นี้และขั้นตอนต่อไปจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำเสนอเป็น พรบ. ต่อไป

จบการประชุม เวลา 1600 น.
....................................................................บรรณาธิการ.

 
 
TOP
   
Copyright (c) 2001 Forum for Ethical Review Committees in Thailand. All right reserved.
E-mail : webmaster@fercit.org